วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560

IP คืออะไร

IP

IP Address คืออะไร?


IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1 เป็นต้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
  1. Network Address
  2. Computer Address


การแบ่งขนาดของเครือข่าย

เราสามารถแบ่งขนาดของการแจกจ่าย Network Address ได้ 3 ขนาดคือ
  1. Class A nnn.ccc.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 1-126)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากที่สุดถึง 16 ล้านหมายเลข
  2. Class B nnn.nnn.ccc.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 128-191)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้มากเป็นอันดับสอง คือ 65,000 หมายเลข
  3. Class c nnn.nnn.nnn.ccc (nnn ชุดแรก ตัวเลขอยู่ระหว่าง 192-233)
    เครือข่าย Class A สามารถแจกจ่าย IP Address ได้น้อยที่สุด คือ 256 หมายเลข
* nnn หมายถึง Network Address ccc หมายถึง Computer Address

หมายเลขต้องห้าม สำหรับ IP Address

เนื่องจากเครือข่ายก็อาจจำเป็นต้องใช้ IP Address ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดบางหมายเลขเพื่อใช้เป็นการภายใน ได้แก่
  • Class A ตั้งแต่ 10.xxx.xxx.xxx
  • Class B ตั้งแต่ 172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
  • Class C ตั้งแต่ 192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
สำหรับภายในองค์กร ก็มีหมายเลขต้องห้ามเช่นกัน
  1. 127.xxx.xxx.xxx หมายเลขนี้ใช้สื่อสารกับตัวเอง
  2. 0.0.0.0

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

อุปกรณ์เครือข่าย มีอะไรบ้าง

1. การ์ดแลน





      การ์ดแลนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง หรือไปยังอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบเครือข่าย   

 ดังนั้นคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องก็จะต้องมีการ์ดแลนเป็นส่วนประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่ง และโดยเฉพาะการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ADSL ตามบ้าน มักจะใช้การ์ดแลนเป็นตัวเชื่อมต่ออีกด้วย การใช้การ์ดแลน จะใช้ควบคู่กับสายแลนประเภท UTP หรือสายที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคือสาย CAT5, CAT5e, CAT6 



การเลือกซื้อการ์ดแลน

  สำหรับเครื่องคอมฯ ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)


  • สามารถเลือกซื้อการ์ดแลนเป็นแบบติดตั้งภายใน หรือจะซื้อแบบเชื่อมต่อภายนอกแบบ USB ก็ได้ แต่ราคาจะสูงกว่าแบบติดตั้งภายในมาก



  สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Notebook Computer)


  • โดยปกติ Notebook ทุกรุ่นในปัจจุบัน จะมีพอร์ตในการเชื่อมต่อแบบสาย (Wire) และแบบไร้สาย (Wireless) มาให้ด้วยเสมอ แต่ถ้ามีปัญหา สามารถซื้อมาเพิ่มเติมได้ในแบบที่เป็น USB หรือจะซื้อแบบ PCMCIA ได้ (ถ้า Notebook ของเรามี port ชนิดนี้อยู่)

พอร์ตการเชื่อมต่อการ์ดแลน

     ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อภายใน (สำหรับ Desktop Computer) เวลาเลือกซื้อต้องสอบถามให้ดีว่า เป็นุร่นที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อแบบไหน เช่น ISA (รุ่นนี้โบราณแล้ว อย่าซื้อ! ถ้าไม่จำเป็น), PCI รุ่นใหม่ เป็นต้น ส่วนราคาในปัจจุบันถูกลงมากๆ ครับ แค่หลักร้อยบาทเท่านั้น แต่อีกจุดหนึ่งที่ควรทราบคือ ความเร็ว ซึ่งแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ อาจมีความเร็วที่ต่างกันเช่น 10/100/1000 MBPS เรียกว่าถ้ามีตัวเลข 1000 ก็สามารถเลือกซื้อได้เลย

ที่มา: http://www.it-guides.com/






2. RJ-45


คือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สายคือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สาย UTP) 

ตัวผู้ มี 2 ชนิด ได้แก่ 1.หัวต่อตัวผู้ RJ-45 (หรือที่เรียกว่ RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug) เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรานะคะ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ

2.หัวต่อตัวเมีย RJ-45 (หรือเรียกว่า RJ-45 Jack Face) มีลักษณะเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้วซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณhubH U B หรือ Repeater อุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล จะต้องใช้ไฟหล่อเลี้ยงในการทำงาน โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports รวมทั้ง 48 ports เป็นต้น จำนวน port หมายถึง จำนวนในการเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น Hub 24 ports หมายถึง สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าด้วยกัน จำนวน 24 เครื่อง



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หัว RJ45 มีหน้าที่อะไร



3. สาย UTP



             

สาย UTP เป็นสายสัญญาณที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันย่อมาจากคำว่า Unshielded Twisted Pair เป็นสายขนาดเล็กที่ไม่มีชีลด์ห่อหุ้ม มีเส้นตีเกลียวเป็นคู่ ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวนในการเชื่อมต่อจะใช้หัวต่อแบบ RJ-45เป็นสองหัวต่อสาย เส้นสามารถต่อสายได้ยาวสูงสุดประมาณ 100 เมตร อุปกรณ์ในการเชื่อมต่อคือสาย UTP,คีมยั้มหัว RJ-45,และชุดทดสอบสาย (Network Cable Tester)ชนิดของสาย UTP ที่มีใช้งานปัจจุบันมีดังนี้

ชนิดของสาย UTP ประกอบด้วย
          >Category 3 (CAT 3) วิ่งที่ความเร็ว 10 Mbps< 10 BASET Ethernet
          >Category 5 (CAT 5) วิ่งที่ความเร็ว 100 Mbps < Fast Ethernet
          >Category e (CAT 5e) วิ่งที่ความเร็ว 1000 Mbps (1 Gbps) < Gigabit Ethernet
          >Category 6 (CAT 3) วิ่งที่ความเร็ว 1000 Mbps (1 Gbps) < Gigabit Ethernet

ตารางเปรียบเทียบหมวดหมู่สายสัญญาณแบบ UTP


การเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTP  จะมีอยู่ แบบ คือ
             -  แบบ T568A แบบไขว้ (Com To Com) ใช้ต่อเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องเข้าด้วยกันหรือต่อจาก Hub ตัวหนึ่งไปอีกตัวหนึ่ง การต่อสายมีการสลับสายคู่ที่ 1-3,2-6
             - แบบT568B แบบธรรมดา (Com To Hub)ใช้ต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังHub/Switch การต่อสายทั้งสองด้านจะเหมือนกันดังจะแสดงในตารางประกอบ


ภาพแสดงตารางการเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTP




ภาพกราฟิกแสดงการเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTP




ภาพกราฟิกแสดงการเรียงสายแบบมาตราฐานของสาย UTP


ภาพแสดงการเรียงสายแบบมาตรฐานของสาย UTPของจริง



ภาพแสดงคีมยั้มหัวหรือคีมเข้าหัวสาย UTP แบบ RJ-45.



ภาพแสดงหัวRJ-45และNetwork Cable Tester


4. สาย STP







สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)
              สายสัญญาณ STP มีการนำสายคู่พันเกลียวมารวมอยู่และมีการเพิ่มฉนวนป้องกันสัญญาณรบกวน ซึ่งร่างแหนี้จะมีคุณสมบัติเป็นเกราะในการป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ เรียกเกราะนี้ว่า ชิลด์ (Shield) และเป็นสายสัญญาณที่ได้รับการพัฒนาต่อจากสาย UTP โดยเพิ่มการชีลด์กันสัญญาณรบกวนเพื่อทำให้คุณสมบัติโดยรวมของสัญญาณดีมากขึ้น คุณลักษณะของสาย STP ก็เหมือนกับสาย UTP คือมีเรื่องเกี่ยวกับอัตราการบั่นทอนครอสทอร์ก




รูปแสดงสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (STP : Shielded Twisted Pair)


ข้อดีของสาย STP
         - ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า UTP
         - ป้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และคลื่นวิทยุ

ข้อเสียของสาย STP
         - มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก
         - ราคาแพงกว่าสาย UTP





5. สายโคแอ็กซ์

       สายโคแอ็กเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และเป็นที่นิยมมากในเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัย แรก ๆ แต่ในปัจจุบันสายโคแอ็กซ์ถือได้ว่าเป็นสายที่ล้าสมัยสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีระบบเครือข่ายบางประเภทที่ยังใช้สายประเภทนี้อยู่

      สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่าสายโคแอ็กซ์ (Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่ 2 ส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า "มีแกนร่วมกัน" ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าต้นนำทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง 



โครงสร้างของสายโคเอกซ์

     1 คือ สายทองแดงเป็นแกนกลาง จะเป็นส่วนทที่นำสัญญาณข้อมูล
     2 คือ ฟรอยด์หุ้มสัญญาณรบกวน
     3 คือ สายนำสัญญาณกราวด์ มีลักษณะเป็นใยโลหะถักเปียหุ้ม
     4 คือ ฉนวน จะเป็นวัสดุที่ป้องกันสายสัญญาณ
         ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่โคแอ็กซ์จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ก็แบ่งออกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่ายที่ใช้ สายโคแอ็กซ์จะถูกแยกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยใช้มาตรา RG (Radio Grade Scale) สายโคแอ็กซ์ที่นิยมกันใช้มากที่สุดมีค่าความต้านทานที่ 75 โอห์ม อย่างเช่น RG6/U ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสายสัญญาณโทรทัศน์ซึ่งจะมีทั้งสีดำและสีขาวนอกจากนี้ก็ใช้ในการติดตั้งระบบเคเบิ้ลทีวี ส่วนสายอีกชนิดหนึ่งจะเป็นสายโคแอ็กซ์แบบ RG-58/U จะใช้ได้กับ ซึ่งมีค่าความต้านทานที่ 50 โอห์ม ซึ่งส่วนใหญ่ที่นิยมใช้กันมากจะอยู่ในวงการวิทยุสื่อสาร

สายโคแอ็กซ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


      1. สายโคแอ็กซ์แบบบาง (Thin Coaxial Cable)
      2. สายโคแอ็กซ์แบบหนา (Thick Coaxial Cable)

หัวเชื่อมต่อที่ใช้กับสายโคแอ็กซ์


       ทั้งสายแบบ Thinnet และ Thicknet จะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกัน ที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณละเน็ตเวิร์คการ์ด หัวเชื่อมต่อแบบ BNC นี้มีหลายแบบดังต่อไปนี้

       1. หัวเชื่อมสาย BNC (BNC Cable Connector) เป็นหัวที่เชื่อมเข้ากับปลายสาย ดังแสดงในรูปที่ 1
       2. หัวเชื่อมสายรูปตัว T (BNC T-Connector) เป็นหัวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณกับเน็ตเวิร์คการ์ด
       3. หัวเชื่อมสายแบบ Barrel (BNC Barrel Connector) เป็นหัวที่ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณเพื่อให้สายมีขนาดยาวขึ้น
       4. ตัวสิ้นสุดสัญญาณ (BNC Terminator) เป็นหัวที่ใช้ในการสิ้นสุดสัญญาณที่ปลายสายเพื่อเป็นการสิ้นสุดสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับ ถ้าไม่อย่างนั้นสัญญาณจะสะท้อนกลับทำให้รบกวนสัญญาณที่ใช้นำข้อมูลจริง ซึ่งจะทำให้เครือข่ายล้มเหลวในที่สุด



ที่มา: http://techno.oas.psu.ac.th/content/51





6. Terminator


สำหรับเครือข่ายแบบบัส สายเคเบิลตรงจุดปลายทั้งสองฝั่งจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า เทอร์มิเนเตอร์     (Terminator) ปิดไว้ที่ปลายสาย ซึ่งอุปกรณ์เทอร์มิเนเตอร์นี้จะเป็นอุปกรณ์ช่วยดูดซับสัญญาณ
เพื่อไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ กรณีที่สัญญาณวิ่งมาถึงจุดปลายของสายเคเบิล

 

 เทอร์มิเนเตอร์



          ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส 
                  

                      ข้อดี 
                              1. มีรูปแบบโครงสร้างไม่ซับซ้อน ติดตั้งง่าย
                              2. การเพิ่มโหนด สามารถเพิ่มต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที
                              3. ประหยัดสายส่งสัญญาณ เนื่องจากทุกโหนดสามารถเชื่อมต่อเข้ากับสายแกนหลักได้ทันที


                    ข้อเสีย 
                              1. หากสายแกนหลักเกิดขาด เครือข่ายทั้งระบบจะหยุดการทำงาน
                              2. กรณีเครือข่ายหยุดการทำงาน ตรวจสอบจุดเสียงค่อนข้างยาก
                              3. แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อบนเครือข่าย จะต้องอยู่ห่างกันตามข้อกำหนด


7. T-connector

   T- Connector เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง Network Card กับ สาย Cable ซึ่ง
 อุปกรณ์ T-Connector นั้นจะมีอยู่ 3 ขา ขาที่ 1 นั้นเป็นขาที่เชื่อมต่อกับ Network Card ของเครื่อคอมพิวเตอร์ ส่วนอีก 2 ขานั้นจะเชื่อมต่อกับสาย Cable หรือ อุปกรณ์ Ground Terminator ในกรณีที่ไม่มีสาย Cable มาเชื่อมต่อแล้ว 











ที่มา: http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/net2/net-tool.html



8. Fiber Optic

Fiber Optic คืออะไร

Fiber Optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก เมื่อเทียบกับสายแลนทั่วๆ ไป (CAT5, CAT5e, CAT6, CAT7 เป็นต้น) Fiber Optic เรียกเป็นภาษาไทยว่า "เส้นใยแก้วนำแสง"

Fiber Optic cable

คุณสมบัติของ Fiber Optic


  • Fiber Optic ภายในทำจากแก้วที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก
  • มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเท่าเส้นผมของคนเรา
  • รับส่งสัญญาณได้ระยะไกลมากเป็นกิโลเมตร
  • ต้องใช้ผู้ชำนาญ และเครื่องมือเฉพาะในการเข้าหัวสัญญาณ
  • ราคาแพงหลายเท่า เมื่อเทียบกับสายแลนประเภท CAT5

Fiber Optic แบ่งออกได้ 2 ประเภท


  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดโหมดเดี่ยว (Singlemode Optical Fibers, SM)
  • เส้นใยแก้วนำแสงชนิดหลายโหมด (Multimode Optical Fibers, MM)

การนำไปใช้งานของ Fiber Optic

  • ตึกสูงๆ ที่ต้องการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย ทำเป็น Backbone (สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก)
  • ระบบการรับส่งสัญญาณภาพ วีดีโอ ตามพื้นที่ต่างๆ
  • การเชื่อมต่อสัญญาณระยะไกล
  • และอื่นๆ อีกมากมาย


9. เครื่องทดสอบสายสัญญาณ








  • Fiber OneShot™ Optical Test Set Fiber OneShot™ Optical Test Set


    เครื่องทดสอบสายไฟเบอร์แบบ Single Mode

    สำหรับงาน Fiber to Home และ CATV
    1. ตรวจสอบว่าสายไฟเบอร์แอคทีฟอยู่หรือไม่
    2. หาความยาวของสายไฟเบอร์ไปยังจุดที่มีปัญหา
    3. หาความยาวตลอดสายไฟเบอร์ไปถึงปลายสาย


    Fiber OneShot™ Optical Test Set ชุดเครื่องมือขนาดมือถือ ตัวใหม่ล่าสุดจาก FlukeNetworks ที่ช่วยให้งานตรวจสอบสายไฟเบอร์แบบ Single Mode ที่ยุ่งยากซับซ้อน กลายเป็นงานง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ ด้วยการออกแบบให้สามารถทำการทดสอบได้ในปุ่มกดเดียว ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องแม่นยำ
    Fiber OneShot™ เป็นเครื่องทดสอบสายสัญาณไฟเบอร์ออปติก ที่ออกแบบมาสำหรับการตรวจค้นแก้ไขปัญหาหลัก 3 อย่าง ในงานไฟเบอร์ได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่



    Fiber OneShot™  Fiber OneShot™



    Fiber OneShot™ มีขนาดกระทัดรัด ทนทาน ใช้งานง่าย สำหรับการทดสอบสัญญาณไฟเบอร์แบบ Single Mode โดยเฉพาะ ตรวจสอบภาวะแอคทีฟของสาย, สายหัก, หน้าสัมผัสแสงสกปรก, หาความยาวสายไปยังจุดที่มีปัญหาได้ไกล 9,999 ฟุต โดยไม่มี dead zone

    ที่มา: http://www.measuretronix.com/products/fiber-oneshot%E2%84%A2-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A-single-mode



    10. HUB

    ฮับ (HUB) ในระบบเครือข่าย

    ฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ปัจจุบันฮับถูกเปรียบเทียบกับ Switch ซึ่งมีความสามารถสูงกว่า และถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์มาตราฐานที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงสัญญาณในระบบเครือข่าย? เรียกว่าฮับตกกระป๋องไปแล้วครับ แต่ยังไง ก็เรียนรู้ไว้สักนิดก็ไม่ผิดกฏกติกาแต่อย่างไร เดี๋ยวจะหาว่าไม่รู้จริง

    หน้าตาของฮับ

    Hub Network Equipment
    โดยทั่วไปจะมีลักษณเหมือนกล่องสีเหลี่ยมแต่แบน มีความสูงประมาณ 1-3 นิ้ว แล้วแต่รุ่น มีช่องเล็กๆ เอาไว้เสียบสายแลนแต่ละเส้นที่ลากโยงมาจากคอมพิวเตอร์?มีหลายรุ่น เช่น Hub 4 Ports, 8 Ports, 16 Ports, 24 Ports หรือ 48 Ports เป็นต้น?หน้าตารูปร่างของฮับจะเหมือนกัน Switch ดังนั้นการเลือกซือต้องระวังให้ดี

    ฮับ ทำงานอย่างไร

    เมื่อใดที่มีคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายต้องการส่งข้อมูล ฮับทำจะหน้าที่ในการทำสำเนาข้อมูลและส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่าย ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์ แต่รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเช่น เครื่องพิมพ์ เป็นต้น เรียกว่าส่งข้อมูลไปทั้งหมด และถ้าข้อมูลนี้เป็นของอุปกรณ์ใด อุปกรณ์นั้นก็จะรับเองอัตโนมัติ? และจุดด้อยของฮับที่ควรทราบคือ เวลามีอุปกรณ์ใดส่งข้อมูลในเครือข่ายผ่านฮับ อุปกรณ์อื่นๆ จะต้องรอให้การส่งสมบูรณ์ก่อน เปรียบเทียบได้กับถนน One-Way ห้ามส่งข้อมูลสวนทางกัน

    ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของฮับ

    • ความเร็วต่ำสุดคือ 10 MBPS
    • ความเร็วสูงสุดคือ 100 MBPS
    • บางรุ่นรองรับทั้ง 10 และ 100 เรียกว่า 10/100 MBPS
    MBPS ย่อมาจาก MegaBit Per Second (เมกกะบิตต่อวินาที)

    ระยะทางจากฮับสู่คอมพิวเตอร์

    โดยปกติเราสามารถต่อสายแลนจากคอมพิวเตอร์เข้าสู่ฮับได้ ในระยะทางไม่เกิน 100 เมตร (มาตราฐานนี้ใช้กับสายแลนประเภท Cat5, Cat5e)
    ที่มา: http://www.it-guides.com/training-a-tutorial/network-system/what-is-hub


    11. switch

    สวิตช์ ( switch)

     
                เป็นอุปกรณ์เครือข่ายเช่นเดียวกันกับฮับ ( hub) และมีหน้าที่คล้ายกับฮับมาก แต่มีความแตกต่างที่ ในแต่ละพอร์ต (port) จะมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้สูงกว่า เช่น สวิตช์ที่มีความเร็ว 10 Mbps นั้น จะหมายความว่า ในแต่ละพอร์ตจะสามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็ว 10 Mbps และนอกจากนั้นเครื่องทุกเครื่องที่ต่อมายังสวิตช์ยังไม่ได้อยู่ใน Collision Domain เดียวกันด้วย (ซึ่งถ้าฮับจะอยู่) นั่นหมายความว่าแต่ละเครื่องจะได้ครอบครองสายสัญญาณแต่เพียงผู้เดียว จะไม่เกิดปัญหาการแย่งสายสัญญาณ และการชนกันของสัญญาณเกิดขึ้น

    สวิตช์จะมีความสามารถมากกว่าฮับ แต่ยังมีการใช้งานอยู่ในวงจำกัดเพราะราคายังค่อนข้างสูงกว่าฮับอยู่มาก ดังนั้นจึงมีการนำสวิตช์มาใช้ในระบบเครือข่ายที่ต้องการแบ่ง domain เพื่อเพิ่มความเร็วในการติดต่อกับระบบ โดยอาจนำสวิตช์มาเป็นศูนย์กลาง และใช้ต่อเข้ากับเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อจะได้ส่งข้อมูลได้ทีละมาก ๆ และส่งด้วยความเร็วสูง







    การที่สวิตช์สามารถทำงานได้เร็วกว่าฮับนั้น นอกจากสวิตช์จะสามารถส่งข้อมูลออกได้มากกว่าแล้ว ในสวิตช์ยังมี route table ซึ่งเป็นหน่วยความจำของสวิตช์ ที่สามารถจำได้ว่าพอร์ตใดมี IP address หรือ MAC address ใดทำการเชื่อมต่ออยู่บ้าง ซึ่งทำให้การส่งข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และยังไม่เป็นการส่งข้อมูลในลักษณะกระจายไปทุกเครื่องของเครือข่ายที่เรียกว่า broadcast ซึ่งเป็นการสิ้นเปลือง bandwidth โดยไม่จำเป็น

    Collision Domain
    คำว่า collision มีความหมายว่า การชนกัน ซึ่งในทางคอมพิวเตอร์จะหมายความถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายมากกว่า 1 เครื่องพยายามที่จะทำการส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน ทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลที่ทำการส่ง ซึ่งคำว่า collision domain นั้นจะมีความหมายว่าเครื่องที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน และมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิด collision ขึ้นได้ collision จะมีโอกาสเกิดได้น้อยหากว่าจำนวนเครื่องที่อยู่ใน collision domain เดียวกันมีจำนวนน้อย ซึ่งสวิตช์จะทำให้เครือข่ายที่เชื่อมต่อเข้ากันแยกออกเป็นโดเมนย่อย ๆ ดังรูป





    ที่มา:http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan7.html